ปี 2567 เป็นปีที่ภาคใต้ของประเทศไทยประสบกับสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ ซึ่งเริ่มต้นจากฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในหลายจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดทางภาคใต้ตอนล่างอย่าง พัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ปริมาณน้ำฝนที่สะสมมีมากถึง 524 มิลลิเมตรต่อวันในบางพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งในลำน้ำและคลองต่างๆ เช่น คลองลำปำ คลองระโนด คลองอู่ตะเภา คลองเทพา คลองปาแต คลองกาแลกูโบ และคลองตันหยงมัส
สถานการณ์น้ำท่วมมีความรุนแรงจนมีผู้ประสบภัยนับแสนครัวเรือน โดยบางจุดในจังหวัดนราธิวาส น้ำท่วมสูงถึง 2 เมตร ซึ่งทำให้ต้องมีการอพยพผู้คน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เพื่อความปลอดภัยการเตือนภัยได้รับการประกาศให้ประชาชนเตรียมพร้อมและยกของขึ้นที่สูงเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายจากน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในช่วงเวลาดังกล่าว
ความช่วยเหลือจากภาครัฐและภาคประชาชนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีการขอรับบริจาคเพื่อส่งความช่วยเหลือเป็นอาหารแห้ง ข้าวสุก นมสำหรับเด็ก และผ้าอ้อม เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ต้องอาศัยอยู่ในสภาวะที่น้ำท่วมขังทั้งนี้ การติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าสภาพอากาศจะยังคงเลวร้ายไปจนถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2567
สถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของภาคใต้ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมด้านการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต
วิธีลงทะเบียนและเอกสารที่ต้องใช้
สามารถยื่นขอรับเงินเยียวยาช่วยเหลือสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ 2 ช่องทางคือ ผ่านทางเว็บไซต์ของ ปภ. https://flood67.disaster.go.th/Dashboard/BoardHelpRegister หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล โดยนำเอกสารไปยื่นในวันและเวลาราชการเท่านั้น ประกอบด้วย
- บัตรประจำตัวประชาชน
พร้อมด้วยหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
- สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีเป็นบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียน)
- สัญญาเช่าบ้านหรือหนังสือรับรองการเช่าจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กรณีเป็นบ้านเช่า)
- หากเป็นกรณีอื่น อาทิ บ้านพักอาศัยประจำแต่ไม่มีทะเบียนบ้าน จะต้องให้กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารท้องถิ่น รวมกับผู้นำชุมชน ตรวจสอบข้อเท็จจริงและลงนามร่วมกันอย่างน้อย 2 ใน 3
ถ่ายภาพผลกระทบน้ำท่วม
บ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย เครื่องใช้ที่เสียหาย เช่น ประตูหน้าบ้าน หลังบ้าน รวมทั้งหลังคาบ้าน พื้นที่เกษตรกร สวน ไร่ นา และอื่น ๆ ภาพมุมกว้างโดยรวมที่ได้รับความเสียหาย… อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
ทั้งนี้ หากทำบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สูญหายหรือชำรุด สามารถไปที่สำนักทะเบียนในเขตพื้นที่เพื่อขอทำเอกสารฉบับใหม่ได้ โดยจะได้รับการยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมเป็นระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่มีประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย และกรณีมีเหตุจำเป็นให้ขยายระยะเวลาได้อีก 15 วัน รวมเป็น 30 วัน
สามารถแจ้งขอรับเงินเยียวยาน้ำท่วมได้ ทั้งในกรณีน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงผลกระทบจากการระบายน้ำจนส่งผลให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้ โดยเจ้าหน้าที่พิจารณาจ่ายให้กับผู้ที่เข้าเงื่อนไข ดังนี้
- ต้องเป็นบ้านที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ที่ได้มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย และ/หรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน โดยต้องมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกให้ (ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 30) และจะต้องผ่านการประชาคมหมู่บ้านของแต่ละพื้นที่ประสบสาธารณภัย รวมถึงจะต้องผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครต้องผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากสำนักงานเขตและกรุงเทพมหานคร
- กรณีที่ประสบภัยหลายครั้งจะได้รับความช่วยเหลือเพียงครั้งเดียว
ซึ่งได้รับการประกาศแล้วใน 57 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่, กาญจนบุรี, กาฬสินธุ์, กำแพงเพชร, ขอนแก่น, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชัยภูมิ, ชลบุรี, เชียงราย, เชียงใหม่, ตรัง, ตราด, ตาก, นนทบุรี, นครนายก, นครปฐม, นครพนม, นครสวรรค์, นครราชสีมา, นครศรีธรรมราช, น่าน, บึงกาฬ, ปราจีนบุรี, พระนครศรีอยุธยา, พังงา, พะเยา, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, แพร่, ภูเก็ต, มหาสารคาม, มุกดาหาร, แม่ฮ่องสอน, ยะลา, ระยอง, ราชบุรี, ร้อยเอ็ด, ลำปาง, ลำพูน, เลย, ศรีสะเกษ, สกลนคร, สตูล, สระแก้ว, สระบุรี, สุโขทัย, สุพรรณบุรี, สุราษฎร์ธานี, หนองคาย, หนองบัวลำภู, อ่างทอง, อุทัยธานี, อุดรธานี, อุตรดิตถ์ และอุบลราชธานี
นอกจากนี้ยังได้ประกาศเพิ่มเติมอีก 16 จังหวัด รวมถึงจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส
เงินเยียวยาน้ำท่วม ได้อะไรบ้าง
กรณีบ้านน้ำท่วม
ครม. ได้พิจารณาเห็นชอบให้ปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ในอัตราเดียวกันทั้งหมดที่ครัวเรือนละ 9,000 บาท
สำหรับบ้านที่เคยได้รับเงินไปแล้วหลังละ 5,000 บาท จะมีการจ่ายเงินเพิ่มให้อีก แต่ยอดเงินรวมกันจะไม่เกิน 9,000 บาท
กรณีบ้านที่เสียหาย
- กรณีบ้านได้รับความเสียหายเกิน 70% ได้รับงบประมาณเยียวยาสูงสุดหลังละ 230,000 บาท
- กรณีบ้านได้รับความเสียหายเกิน 30–70% ได้รับงบประมาณเยียวยาสูงสุดหลังละ 70,000 บาท
- กรณีบ้านได้รับความเสียหายน้อยกว่า 30% ได้รับงบประมาณเยียวยาสูงสุดหลังละ 15,000 บาท
วิธีรับเงินเยียวยาน้ำท่วม
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณ จะเป็นผู้ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย โดยการโอนเงินเข้าบัญชีผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ [ดูวิธีผูกพร้อมเพย์ธนาคารต่าง ๆ ได้ที่นี่]
อัพเดทข่าวเพิ่มเติม 6/12/2567 ประกาศแจ้งข่าว ชาวนราธิวาส
ไฟล์สำหรับการกรอกข้อมูลในการขอการช่วยเหลือ