การศึกษาถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกคน เพราะความรู้ที่ได้จากการเรียนย่อมสามารถนำไปต่อยอดทำให้เกิดอาชีพและรายได้ในอนาคต ซึ่งช่วยให้สามารถเลี้ยงชีพและขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าได้ แต่ใช่ว่าทุกคนจะมีต้นทุนทางชีวิตที่ดีเท่ากัน ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยทำให้หลายคนมีโอกาสด้านการศึกษาได้นั่นคือการ ‘กู้ยืม กยศ.’ นั่นเอง
การกู้ยืมระบบ DSL คือ ?
กองทุนได้พัฒนาระบบกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบดิจิทัล (Digital Student Loan Fund System : DSL) ขึ้นเพื่อรองรับพันธกิจขององค์กรในการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมครบทั้ง 4 ลักษณะ โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูล รองรับการยื่นกู้ ติดตามสถานะการกู้ยืม การรับโอนเงิน และตรวจสอบยอดหนี้ที่ต้องชำระด้วยตนเอง พร้อมเริ่มใช้งานระบบ DSL ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป
ผู้กู้ยืม เข้าใช้งานผ่านทางเว็บไซต์กองทุน https://wsa.dsl.studentloan.or.th หรือ แอปพลิเคชัน “กยศ. Connect”
สถานศึกษา เข้าใช้งานผ่านทางเว็บไซต์กองทุน https://institute.dsl.studentloan.or.th/ เท่านั้น
ระบบการกู้ยืมสำหรับ นักเรียน / นักศึกษา
ระบบการกู้ยืมสำหรับสถานศึกษา
เอกสารประกอบการยื่นคำขอกู้ยืม
เอกสารประกอบการยื่นคำขอกู้ ผ่านระบบ DSL
สำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่ หรือ ผู้กู้ยืมรายเก่าเปลี่ยนระดับการศึกษา/ย้ายสถานศึกษา/เปลี่ยนหลักสูตร/เปลี่ยนสาขาวิชา
1. หนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูล พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- ผู้กู้ยืม
- ผู้ปกครอง
- คู่สมรส (ถ้ามี)
2. เอกสารประกอบการรับรองรายได้ (ผู้ปกครอง)
- กรณีมีรายได้ประจำ เช่น การทำงานที่ได้รับเงินเดือนเป็นประจำทุกเดือน (พนักงานของรัฐ / พนักงานโรงแรม พนักงานบริษัท ) โดยต้องแนบสลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองเงินเดือน
- กรณีไม่มีรายได้ประจำ / ไม่มีรายได้ เช่น อาชีพค้าขาย อาชีพรับจ้าง เกษตรกร ใช้แบบฟอร์ม กยศ.102 พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ / ข้าราชการ / หัวหน้าสถานศึกษา
หมายเหตุ
- ผู้กู้ยืมต้องเตรียมเอกสารเพื่อทำการ Upload ในระบบ DSL ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เห็นรายละเอียดชัดเจนโดยสามารถใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพเอกสารแทนการสแกนเอกสารได้
- ระบบรองรับไฟล์สกุล PDF / JPEG / GIF / TIFF / PNG ขนาดไม่เกิน 10 MB
- ชื่อเจ้าของเอกสารต้องเป็นบุคคลเดียวกันกับที่จะบันทึกในระบบ
- สำเนาบัตรประจำตัวต้องรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของเอกสาร
หนังสือให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูล
- ผู้กู้ยืมต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน และลงลายมือชื่อด้วยตนเองเท่านั้น
- ห้ามพิมพ์ชื่อ หรือให้บุคคลอื่นลงลายมือชื่อแทน
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- ตรวจสอบวันหมดอายุของบัตรประจำตัวประชาชน ต้องไม่หมดอายุ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืมเงินและบิดา มารดา/ผู้ปกครอง และ/หรือคู่สมรส (ถ้ามี) และเจ้าของบัตรลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น
- สำเนาเอกสารต้องชัดเจน สมบูรณ์ อ่านออก ไม่เบลอ ไม่ดำ ฯลฯ
- ถ่ายภาพ/สแกนไฟล์สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ตรวจสอบความถูกต้องแล้วเข้าสู่ระบบ ถ่ายภาพ/สแกนไฟล์ให้ ชัดเจน และเป็น แนวตั้งเท่านั้น
เอกสารประกอบการรับรองรายได้ (กรณีมีรายได้ประจำ)
ใช้สลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองเงินเดือนจากหน่วยงาน (ผู้มีอำนาจของหน่วยงานลงนาม) การกรอกรายได้ต้องระบุให้ตรงกับหลักฐานที่แนบและตรงกับข้อมูลที่บันทึกในระบบ
เอกสารประกอบการรับรองรายได้ (กรณีไม่มีรายได้ประจำ)
- ใช้หนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืม ตามแบบฟอร์ม กยศ.102
- การกรอกรายได้ต้องระบุข้อมูลให้ตรงกับหนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงิน (กยศ.102) และข้อมูลที่บันทึกในระบบ
- สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ข้าราชการ/เอกสารอื่นใดรับรองว่าเป็นข้าราชการจากหน่วยงานที่ผู้รับรองได้สังกัด เจ้าของบัตรลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น
ดาวน์โหลดเเบบฟอร์ม
กยศ. 102 หนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้กู้ยืมเงิน (กยศ.)
ลงทะเบียนขอรหัสผ่าน
นักเรียน นักศึกษาที่ยังไม่มีรหัสผ่านต้องลงทะเบียนขอรหัสผ่านเข้าระบบ DSL เพื่อเตรียมการกู้ยืมด้วยแอปพลิเคชัน กยศ. Connect หรือช่องทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th
การเข้าใช้งานระบบการกู้ยืมสำหรับ นักเรียน / นักศึกษา ...คลิก
การขอรหัสผ่านเข้าระบบ DSL เพื่อเตรียมการกู้ยืมด้วยแอปพลิเคชัน กยศ. Connect …คลิก
1. ผู้ใช้เข้าสู่แอปพลิเคชัน กยศ. Connect และเลือก “ลงทะเบียนขอสิทธิ์เข้าใช้งาน”.
2. ผู้ใช้เลือกช่องทางลงทะเบียนผ่านแอปฯ เป๋าตัง หรือ “บัตรประชาชน”
3. กรณีเลือกบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วนตัว และกดปุ่ม “ยินยอมตามข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้งาน”
จากนั้นกดปุ่ม “ถัดไป”
4. ผู้ใช้เลือกยืนยันผ่าน “อีเมล” หรือ “โทรศัพท์มือถือ” จากนั้นกดปุ่ม “ถัดไป”
5. กรณีเลือกยืนยันผ่านโทรศัพท์มือถือ ผู้ใช้ระบุรหัส OTP ที่ได้รับทางเบอร์โทรศัพท์มือถือ จากนั้นกดปุ่ม “ยืนยัน”
6. ผู้ใช้ตั้งรหัสผ่าน จากนั้นกดปุ่ม “ยืนยัน”
7. ผู้ใช้ลงทะเบียนขอสิทธิ์สำเร็จ
8. ลงชื่อเข้าใช้งานครั้งแรกบนแอปพลิเคชัน (First Login) ผู้ใช้กรอกข้อมูลเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน และรหัสผ่าน
จากนั้นกดปุ่ม “เข้าสู่ระบบ”
9. กรณีใช้โทรศัพท์มือถือ ผู้ใช้เลือกช่องทางในการยืนยันตัวตน ด้วยรหัส OTP จากนั้นกดปุ่ม “รับรหัส OTP “
10. ผู้ใช้ตั้งรหัส PIN
11. ระบบเข้าสู่หน้าหลักของแอปพลิเคชันอัตโนมัติ
หมายเหตุ
- กรณีผู้ใช้ถูกระงับบัญชี หรือลืมรหัสผ่าน ให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ … คลิก
- หากท่านมีความประสงค์เปลี่ยนแปลง / แก้ไขเบอร์โทรศัพท์ ที่ใช้ในการลงทะเบียน ช่องทาง Mobile Application “กยศ. Connect” หรือช่องทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th ขอให้ทำหนังสือถึงกองทุนเพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ในการลงทะเบียน กยศ.Connect พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนชน (รับรองสำเนาถูกต้อง) โดยจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เข้ามาตามที่อยู่กองทุนหรือส่งเอกสารไฟล์ .pdf ทางอีเมล [email protected]
ขั้นตอนการกู้ยืมระบบ DSL
คลิปวิดีโอขั้นตอนการกู้ยืมในระบบ DLS
- ภาพรวมระบบการกู้ยืม กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแบบดิจิทัล … คลิก
- คู่มือสำหรับผู้กู้ยืมเงิน Version 1.01 …คลิก
การดำเนินการตามขั้นตอนการให้กู้ยืม ภาคเรียนที่ 1
1. การเตรียมการให้กู้ยืม ก่อนการให้กู้ยืมประจำปี … คลิก
– สถานศึกษา บันทึกปฎิทินการศึกษา (ประจำปี)
– สถานศึกษา บันทึกค่าใช้จ่ายตามหลักสูตร (ประจำปี)
2. การรายงานสถานภาพการศึกษา โดยสถานศึกษา … คลิก
– สถานศึกษา รายงานสถานภาพการศึกษาของผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเลื่อนชั้นปี (ประจำปี)
– สถานศึกษา รายงานสถานภาพการศึกษาของผู้กู้ยืมเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพระหว่างปี
การรายงานสถานภาพการศึกษา เป็นกระบวนการสำคัญที่สถานศึกษาต้องดำเนินการให้กับผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเลื่อนชั้นปี หรือผู้กู้ยืมที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพระหว่างปี ซึ่งสถานศึกษามีหน้าที่รายงานสถานภาพให้กับผู้กู้ในสถานศึกษาของตน จนกว่าจะพ้นสภาพการเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือพ้นสภาพการเป็นผู้กู้ยืมเงิน เพื่อให้ผู้กู้ยืมเงินสามารถเบิกเงินกู้ยืมในปีการศึกษาใหม่ หรือให้กองทุนทราบว่าผู้กู้ยืมเงินได้หยุดการกู้ยืมเงินแล้ว เช่น สำเร็จการศึกษา ไม่มาลงทะเบียนเรียน ลาออก ให้ออก เสียชีวิต
3. การยื่นคำขอกู้ยืม … คลิก
เฉพาะผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเปลี่ยนระดับ ย้ายสถานศึกษา เปลี่ยนหลักสูตรหรือสาขาวิชา
– ผู้กู้ยืมเงิน ยื่นคำขอกู้ยืมเงินประจำปีการศึกษา
– ระบบตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
– สถานศึกษา ตรวจสอบคำขอกู้ยืม
– สถานศึกษา ส่งเอกสารคำขอกู้ยืม
4. การอนุมัติคำขอกู้ยืม
– ระบบตรวจสอบและประมวลผลคุณสมบัติต่างๆ
– กองทุนวิเคราะห์อนุมัติคำขอกู้ยืม
5. การจัดทำสัญญากู้ยืมเงิน
– ผู้กู้ยืมเงิน บันทึกข้อมูลเพิ่มเติม …คลิก
– ผู้กู้ยืมเงิน ผู้แทนโดยชอบธรรม (ถ้ามี) ลงนามสัญญากู้ยืมเงิน
– สถานศึกษา ส่งสัญญากู้ยืมเงินและเอกสารประกอบ
6. การเบิกเงินกู้ยืมและลงนามแบบยืนยัน
– สถานศึกษา บันทึกค่าใช้จ่ายตามที่ลงทะเบียนจริงของผู้กู้ยืมเงิน
– ผู้กู้ยืมเงิน ยื่นแบบยืนยันเบิกเงินกู้ยืม
– ผู้กู้ยืมเงิน ผู้แทนโดยชอบธรรม (ถ้ามี) ลงนามแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม
– สถานศึกษา ส่งแบบเบิกเงินกู้ยืมและเอกสารประกอบ
– ระบบ ส่งข้อมูลดำเนินการโอนเงิน
7. การคืนเงิน
– สถานศึกษา รายงานการคืนเงิน ประจำภาคเรียนที่ 1
การดำเนินการตามขั้นตอนการให้กู้ยืม ภาคเรียนที่ 2
สำหรับผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเปลี่ยนระดับ ย้ายสถานศึกษา เปลี่ยนหลักสูตรหรือสาขาวิชา และผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเลื่อนชั้นปี
1. การรายงานสถานภาพการศึกษา
– สถานศึกษารายงาน สถานภาพการศึกษาของผู้กู้ยืมเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี
– ผู้กู้ยืมเงิน ที่อยู่ระหว่างศึกษาต้องรายงานสถานภาพการศึกษาทุกปีจนกว่าจะจบการศึกษา เช่น ไม่ได้กู้ยืมเงินต่อ ไม่ได้ศึกษาต่อ สำเร็จการศึกษาไม่ถึง 2 ปี หรือกำลังศึกษาในสถานศึกษาที่ไม่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน *
– การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยผู้กู้ยืม … คลิก
2. การเบิกเงินกู้ยืมและลงนามแบบยืนยัน
– สถานศึกษา บันทึกค่าใช้จ่ายตามที่ลงทะเบียนจริงของผู้กู้ยืมเงิน
– ผู้กู้ยืมเงิน ยื่นแบบยืนยันเบิกเงินกู้ยืม
– ผู้กู้ยืมเงิน ผู้แทนโดยชอบธรรม (ถ้ามี) ลงนามแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม
– สถานศึกษา ส่งแบบเบิกเงินกู้ยืมและเอกสารประกอบ
– ระบบ ส่งข้อมูลดำเนินการโอนเงิน
3. การคืนเงิน
– สถานศึกษา รายงานการคืนเงิน ประจำภาคเรียนที่ 2
การดำเนินการตามขั้นตอนการให้กู้ยืม ภาคเรียนที่ 3
สำหรับผู้กู้ยืมเงินรายใหม่ ผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเปลี่ยนระดับ ย้ายสถานศึกษา เปลี่ยนหลักสูตรหรือสาขาวิชา และผู้กู้ยืมเงินรายเก่าเลื่อนชั้นปี
1. การรายงานสถานภาพการศึกษา
– สถานศึกษารายงาน สถานภาพการศึกษาของผู้กู้ยืมเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างปี
– ผู้กู้ยืมเงิน ที่อยู่ระหว่างศึกษาต้องรายงานสถานภาพการศึกษาทุกปีจนกว่าจะจบการศึกษา เช่น ไม่ได้กู้ยืมเงินต่อ ไม่ได้ศึกษาต่อ สำเร็จการศึกษาไม่ถึง 2 ปี หรือกำลังศึกษาในสถานศึกษาที่ไม่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน *
– การรายงานสถานภาพการศึกษาโดยผู้กู้ยืม … คลิก
2. การเบิกเงินกู้ยืมและลงนามแบบยืนยัน
– สถานศึกษา บันทึกค่าใช้จ่ายตามที่ลงทะเบียนจริงของผู้กู้ยืมเงิน
– ผู้กู้ยืมเงิน ยื่นแบบยืนยันเบิกเงินกู้ยืม
– ผู้กู้ยืมเงิน ผู้แทนโดยชอบธรรม (ถ้ามี) ลงนามแบบยืนยันการเบิกเงินกู้ยืม
– สถานศึกษา ส่งแบบเบิกเงินกู้ยืมและเอกสารประกอบ
– ระบบ ส่งข้อมูลดำเนินการโอนเงิน
3. การคืนเงิน
– สถานศึกษา รายงานการคืนเงิน ประจำภาคเรียนที่ 3
*หมายเหตุ
หากไม่มีการรายงานสถานภาพการศึกษาเข้ามาครบ 1 ปี (365 วัน) นับจากวันที่รายงานครั้งล่าสุด ระบบ DSL จะแจ้งเตือนผ่าน E-mail และ Notification ให้ผู้กู้ยืมเข้าระบบเพื่อรายงานสถานศึกษา โดยจะมีปุ่มให้ผู้กู้ยืมดาวน์โหลดแบบฟอร์ม (กยศ. 204) เพื่อให้สถานศึกษาปัจจุบันลงนามรับรอง (กรณี สำเร็จการศึกษาไม่ถึง 2 ปี ให้ใช้ Transcript แทนได้) และแนบเอกสารเข้ามาในระบบ ระบบจะไม่ปรากฏเมนู “รายงานสถานภาพศึกษา” หากยังไม่ถึงระยะเวลา 365 วัน ผู้กู้ยืมยังไม่ต้องดำเนินการใดๆ
ขั้นตอนการให้กู้ยืมเงิน ยื่นแบบคำขอกู้ยืม
เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณากู้ยืมเงิน
1. แบบคำขอกู้ยืมเงินที่จัดพิมพ์ออกจากระบบ e-Studentloan และแบบคำขอกู้ยืมเงินที่เป็นเอกสาร(แบบ กยศ.101)
2. เอกสารของผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน
2.1 สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ
2.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3. เอกสารของบิดา และมารดา หรือผู้ปกครอง หรือคู่สมรสของผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน
3.1 สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ
3.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
4. เอกสารประกอบการรับรองรายได้ ดังนี้
4.1 กรณีบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือคู่สมรสของผู้ขอกู้ยืมเงินมีรายได้ประจำ ให้ใช้หนังสือรับรองเงินเดือน/สลิปเงินเดือนของบุคคลนั้นแล้วแต่กรณี
4.2 กรณีบิดา มารดา ผู้ปกครอง ผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน หรือคู่สมรสของผู้ขอกู้ยืมเงินไม่มีรายได้ประจำให้ใช้หนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงิน (แบบ กยศ.102) และ สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้รับรองรายได้
5. หนังสือแสดงความคิดเห็นของอาจารย์แนะแนวหรืออาจารย์ที่ปรึกษา (แบบ กยศ.103)
6. แผนผังแสดงที่ตั้งของที่อยู่อาศัย พร้อมรูปถ่ายที่อยู่อาศัยของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
7. ใบแสดงผลการศึกษา/สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา
8. เอกสารอื่นๆ ซึ่งสถานศึกษาพิจารณาเพิ่มเติม
* หมายเหตุ :
สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อ โดยเจ้าของเอกสาร เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา บิดาต้องเป็นผู้รับรองสำเนาถูกต้อง เป็นต้น
ให้นักเรียน นักศึกษา ที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมซึ่งปัจจุบัน ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อรับการโอนเงินค่าครองชีพรายเดือน
การเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร
การยกเลิกสัญญากู้ยืม
การยกเลิกสัญญากู้ยืมเงิน และหรือแบบลงทะเบียนเรียน/แบบยืนยันจำนวนเงินกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ในกรณีที่สถานศึกษา หรือผู้กู้ยืมเงินมีความต้องการยกเลิกสัญญากู้ยืมเงิน และหรือแบบลงทะเบียนเรียน/แบบยืนยันฯ เพื่อแก้ไข/เปลี่ยนแปลงสัญญากู้ยืมเงิน และหรือแบบลงทะเบียนเรียน/แบบยืนยันฯ ที่ส่งข้อมูลให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมแล้ว สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
1. ทำการยกเลิกสัญญากู้ยืมเงิน และหรือแบบลงทะเบียนเรียน/แบบยืนยันฯ ในระบบ e-Studentloan ตามที่กองทุนกำหนด และพิมพ์แบบฟอร์มยกเลิกสัญญากู้ยืมเงิน และหรือแบบลงทะเบียนเรียน/แบบยืนยันฯ พร้อมทั้งแบบฟอร์มคืนเงิน (กรณีที่มีการจ่ายเงินตามแบบลงทะเบียนเรียนฯ แล้ว)
2. ส่งแบบฟอร์มยกเลิกสัญญากู้ยืมเงิน และหรือแบบลงทะเบียนเรียน/แบบยืนยันฯ ให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทันทีที่ทำเสร็จ
3. นำแบบฟอร์มคืนเงินไปชำระเงินที่สาขาของผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมแล้วส่งเอกสาร (แบบฟอร์มและใบนำฝาก หรือ PAY IN SLIP) มายังฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ บมจ.ธนาคารกรุงไทยหรือฝ่ายนโยบายรัฐธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
การยกเลิกสัญญา และ/หรือแบบยืนยันการลงทะเบียน
การยกเลิกสัญญา และ/หรือแบบยืนยันการลงทะเบียน
ในกรณีที่สถานศึกษาหรือผู้กู้ยืมเงินมีความต้องการแก้ไข/เปลี่ยนแปลงสัญญากู้ยืมเงิน และ/หรือแบบยืนยันการลงทะเบียนเรียนที่ได้ทำการส่งข้อมูลให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมแล้วสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
1. ทำการยกเลิกสัญญากู้ยืมเงิน และ/หรือแบบยืนยันการลงทะเบียนเรียน ในระบบ e-Studentloan ตามที่กองทุนกำหนด และพิมพ์แบบฟอร์มยกเลิกสัญญากู้ยืมเงิน และ/หรือแบบยืนยันการลงทะเบียนเรียนพร้อมทั้งแบบฟอร์มคืนเงิน (ในกรณีที่มีการจ่ายเงินตามแบบยืนยันการลงทะเบียนเรียนนั้นแล้ว)
2. ส่งแบบฟอร์มยกเลิกสัญญากู้ยืมเงิน และ/หรือแบบยืนยันการลงทะเบียนเรียนให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทันทีที่ทำเสร็จ
3. นำแบบฟอร์มคืนเงินไปชำระเงินที่สาขาของผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมแล้วส่งเอกสาร (แบบฟอร์มและใบนำฝากหรือ PAY IN SLIP) มายังฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ บมจ.ธนาคารกรุงไทย หรือฝ่ายนโยบายรัฐธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย