[ad_1]
| ไปให้ถึงการซิกรฺและดุอาอ์ |
เวลาละหมาด เราต้องตระหนักอยู่ตลอดว่า นั่นคือการกระทำที่ถูกบูรณาการเข้ากับการซิกรฺ(จิตใจที่รำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า) ดังนั้น ทุกถ้อยคำที่ถูกอ่านในละหมาดจึงกลายเป็นการซิกรฺ เราจะต้องติดตาม จะต้องจดจ่อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พยายามไม่คิดถึงสิ่งอื่น เว้นแต่ความหมายของมัน พยายามทำให้ชีวิตกลมกลืนและไหลลื่นไปกับมัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอายาตที่ถูกนำมาอ่านในขณะที่ยืน ที่วางหลักไว้ที่สูเราะฮฺฟาติหะฮฺ(ซึ่งจะต้องติดตามความหมายของมันเป็นพิเศษ) รวมทั้งการอ่านอายาตอื่นๆ ที่ถูกนำมาอ่านต่อตามความสะดวกของแต่ละคน ตรงนี้คือสิ่งที่ต้องใช้หัวใจใคร่ครวญให้มาก ด้วยการยอมรับและการยอมจำนน
การละหมาดคือการซิกรฺ และการซิกรฺที่เป็นหัวใจคืออายาตที่กำลังอ่านไปในขณะที่ยืนอยู่ การติดตามตรงนี้ได้จะกลายเป็น “ความคุชูอฺ” และเป็นการแสวงหารสชาติเบื้องต้นของการละหมาด
ซิกรฺถือเป็นพื้นฐานโดยรวมของการละหมาด ตั้งแต่ต้นจนจบ
อย่างไรก็ตาม มีจังหวะพิเศษที่ให้ขอดุอาอ์ นั่นคือขณะที่สูญูด(กราบ) เป็นตำแหน่งหนึ่งที่ดุอาอ์ถูกตอบรับง่ายที่สุด ดังนั้น ต้องฉกฉวยช่วงเวลานั้นในการขอดุอาอ์ โดยตั้งใจตั้งแต่ก่อนละหมาดแล้วว่า จะไปละหมาดเพื่อจะได้สูญูดลงขอดุอาอ์ จริงแล้วคำว่าเศาะลาฮฺ(ละหมาด)นั้น หมายถึงดุอาอ์ อีกด้วย
จงทำให้ละหมาดของเราบรรลุถึงเจตนารมณ์ของมัน นั่นคือการซิกรฺและดุอาอ์ ตั้งแต่เริ่มละหมาดจนสิ้นสุดลง นี่คือนิยามและความหมายของการละหมาด
|อัล อัค|
[ad_2]
Source (แหล่งอ้างอิง)