อ.อิสหาก พงษ์มณี
1. ผู้จำนำหรือผู้จำนอง เรียกว่า الراهن – อัรรอฮิน
2. ผู้รับจำนำหรือจำนองเรียกว่า المرتهن -อัลมุรตะฮิน
3. ทรัพย์จำนำจำนองเรียกว่า الرهن – อัรเราะฮฺนุ หรือ المرهون -อัลมัรฮูน
4. หนี้ที่กู้ยืมไปเรียกว่า الرهون به -อัลมัรฮูน่าบิฮี
ในทางกฏหมายแยกว่าจำนำหมายถึงเอาสังหาริมทรัพย์ไปค้ำหนี้ ส่วนจำนองคือเอาอสังหาริมทรัพย์ไปค้ำหนี้ แต่ในทางหลักการศาสนาเรียกรวมกันว่า الرهن – อัรเราะฮฺนุ
ไม่ว่าจะเป็นจำนำหรือจำนองล้วนมาจากเหตุการเป็นหนี้ การกู้หนี้ยืมสินตามคติคำสอนของศาสนานั้นคือการสงเคราะห์ผู้เดือดร้อน กล่าวคือมิใช่ธุรกรรมแสวงกำไร การคิดกำไรหรือแสวงประโยชน์ใดๆ จากมูลหนี้ ประโยชน์นั้นคือดอกเบี้ยโดยเอกฉันท์
นักวิชาการเห็นพ้อง(ยกเว้นอบูฮะนีฟะห์ในข้อปลีกย่อยบางกรณี) กันว่าหากทรัพย์ที่นำไปค้ำหนี้ต้องมีค่าใช่จ่ายดูแล ค่าใช่จ่ายดังกล่าวเป็นหน้าที่ของเจ้าทรัพย์ซึ่งก็คือผู้นำทรัพย์ไปจำนองหรือจำนำนั่นเอง เพียงแต่ว่าต้องจ่ายตาม “จริง” คือฝ่ายผู้ให้กู้ยืมจะเรียกเก็บเกินจริงไม่ได้ หากเกินจริงส่วนเกินนั้นจะกลายเป็นกำไรหรือเป็นประโยชน์ย้อนกลับมาหาผู้ให้กู้ ประโยชน์ใดๆ ที่เกิดจากการให้กู้ยืมประโยชน์นั้นคือ “ดอกเบี้ย” โดยเอกฉันท์
ต่อกรณีการจำนำทองที่สหกรณ์มุสลิมบางแห่งหรือหลายๆแห่งรณรงค์ให้พี่น้องมุสลิมนำทองไปจำนำโดยไม่คิด “ดอก” แต่คิดค่าบริการดูแลรักษา โดยคิดค่าบริการดังนี้คือ 0.45 บาทต่อทองหนึ่งกรัมมนเวลาหนี่งวัน ทองหนึ่งบาทโดยทั่วไปมีน่ำหนัก 15 กรัม ดังนั้นค่าดูแลรักษาทองหนึ่งบาทจะตกอยู่ที่ 6.75 บาท ถ้าต้องกู้ยืมเป็นเวลาหนึ่งปี ค่าดูแลรักษาทองหนึ่งบาทก็จะอยู่ที่ 2,463.75 บาท ปัญาหาคือนั่นคือค่าดูแลรักษาตามจริงหรือไม่
ตามหลัก การนำทรัพย์ไปค้ำหนี้ โดยทั่วไปทรัพย์นั้นต้องมีมูลค่าเท่ากับหรือมากกว่ามูลหนี้ หากน้อยกว่าไม่นิยมทำเพราะไม่เกิดประโยชน์มากนัก หากสินทรัพย์ที่นำมาค่ำหนี้มีมูลค่าสูงกว่ามูลหนี้มากเท่าใด ผู้ให้กู้ก็อุ่นใจมากเท่านั้น นี่เป็นเรื่องธรรมดา
หากผมขาดสภาพคล่องต้องการเงินสดสัก 20000 เพื่อจ่ายค่าเทิมลูก จะไปหยิบยืมใครก็ไม่มีใครให้ แต่มีสหกรณ์มุสลิมบางแห่งประกาศว่าหากใครเดือดร้อนเรื่องเงินทองสามารถมาหยิบยืมได้แต่มีข้อแม้ว่าต้องเอาทองมาค้ำโดยเงินที่จะหยิบยืมต้องตัองต่ำกว่าราคาทอง คือให้ได้ไม่เกิน 80 เปอร์เซ็นของราคาทอง และทางสหกรณ์ขอเก็บค่าบริการดูแลทองคิดกรัมละ 0.45 บาท
ผมถามภรรยาว่าเธอมีทองน้ำหนักหนึ่งบาท (15 กรัม) ไหมขอยืมเอาไปค้ำหนี้หน่อย ปรากฏว่าในบ้านมีแค่ทองเส้นเดียวน้ำหนักห้าบาท (15×5 =75 กรัม) ผมจะนำไปค้ำหนี้ได้ไหม แน่นอนผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมยินดีเพราะมูลค่าของทองสูงกว่าหนี้ที่ผมต้องการยืม
ต่อกรณีข้างต้น หากผมนำทองห้าบาทไปค้ำหนี้ 20000 ในเวลาหนึ่งปี ผมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายดูแลรักษาทองให้กัยสหกรณ์ ดังนี้
75x.45 =33.75 บาทต่อวัน และ 33.75×365= 12,318.75 ต่อปี
เมื่อครบปีผมก็นำเงินที่ยืมมาคืนสหกรณ์ไป 20000 พร้อมค่าดูแลรักษาอีก 12,318.75 รวม 32,318.75 บาท
คำถามคือจำนวนเงิน 12,318.75 มันคือค่าดูแลรักษาทองคำน้ำหนักห้าบาทตามจริงหรือไม่ ?
การดูแลรักษาทองคำหนึ่งบาทและห้าบาทมันต่างกันมากมายขนาดนั้นเลยหรือ การเก็บรักษาระหว่างทองหนึ่งบาทและห้าบาทมันต้องการเนื้อที่เก็บรักษาต่างกันขนาดนั้นเลยหรือ นี่คือค่ารักษาทรัพย์ตามจริงตรงหลักการ หรือ ตามหลักใจ
หากค่าดูแลทรัพย์จำนำนั้นเกินจริง ส่วนเกินมานั้นคือประโยชน์ของใคร หากเป็นประโยชน์ย้อนกลับมายังผู้ให้กู้ ประโยชน์นั้นคือดอกเบี้ยนั่นเอง
ขอขอบคุณ Islammore.com
The post การจำนำและการจำนองในอิสลาม appeared first on Adam Mideng.
The post การจำนำและการจำนองในอิสลาม appeared first on Adam Mideng.
The post การจำนำและการจำนองในอิสลาม appeared first on Adam Mideng.