ประกันสังคม คืออะไร ?
ประกันสังคม เป็นระบบประกันสวัสดิการที่มีไว้เพื่อป้องกันและช่วยเหลือประชาชนในกรณีที่พวกเขาต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้เสียสละหรือเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ โดยมีการรวมเงินสั่งจ่ายจากประชาชนทั่วไปไปสนับสนุนผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น การได้รับบาดเจ็บ, โรคที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้, การสูญเสียรายได้, การเสียชีวิต, การติดต่อโรคร้ายแรง, การเลิกจ้างงาน, และสถานการณ์ที่ทำให้เสียสละทางเศรษฐกิจอื่น ๆ
ในแต่ละประเทศ, ระบบประกันสังคมสามารถมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามนโยบายและกฎหมายของแต่ละประเทศนั้น ๆ ระบบนี้มักจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบสวัสดิการทางสังคมทั่วไปที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านสวัสดิการและความเป็นภูมิใจของชีวิตทั่วไปของประชาชน.
กรณีเจ็บป่วย
เจ็บป่วยปกติ
สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามสิทธิหรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้นได้ฟรี โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ทั้งผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD)
ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน
กรณีเข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลรัฐ:
- ผู้ป่วยนอก (OPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง
- ผู้ป่วยใน (IPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
กรณีเข้ารักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลเอกชน:
- ผู้ป่วยนอก (OPD) เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,000 บาท หรือ เกิน 1,000 บาทได้ หากมีการตรวจรักษาตามรายการในประกาศของคณะกรรมการการแพทย์
- ผู้ป่วยใน (IPD) กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องและค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท และสำหรับกรณีที่รักษาในห้อง ICU เบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง และค่าอาหาร ได้รวมไม่เกินวันละ 4,500 บาท ผ่าตัดใหญ่ เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท ค่ายา และค่าอุปกรณ์ เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และค่าเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท
ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต
เข้ารับบริการทางการแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้เคียงได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ นับรวมวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
ทันตกรรม
- ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด รับค่าบริการทางการแพทย์ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 900 บาท/ปี
- ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมตามที่จ่ายจริง โดย 1-5 ซี่ จะได้รับเงินไม่เกิน 1,300 บาท และมากกว่า 5 ซี่ ขึ้นไป จะได้รับเงินไม่เกิน 1,500 บาท
- ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก กรณีฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง รับค่าบริการทางการแพทย์ และค่าฟันเทียมตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 2,400 บาท และกรณีฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง ไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ จึงจะได้รับสิทธิ
สิทธิประกันสังคม ที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้
สิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วย
ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิรักษาพยาบาล เมื่อจ่ายเงินสมทบ ไม่น้อยกว่า 3 เดือน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใน และหากเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลรัฐ และเอกชนอื่นๆ ก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิประกันสังคมหลังจากได้รับการรักษาได้ โดยแยกเป็น 2 กรณี คือ
(1) กรณีเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) ในสถานพยาบาลรัฐ สามารถเบิกได้ตามจริง และสามารถเบิกจ่ายกรณีเข้ารักษาที่สถานพยาบาลเอกชนได้ไม่เกิน 1,000 บาท/ครั้ง
(2) กรณีเป็นผู้ป่วยใน (IPD) ในสถานพยาบาลรัฐ สามารถเบิกได้ตามจริง ยกเว้นค่าห้อง และค่าอาหาร ที่เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท และสามารถเบิกจ่ายกรณีเข้ารักษาที่สถานพยาบาลเอกชนได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท, ค่าห้อง และค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท หากมีการรักษาในห้อง ICU สามารถเบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท และเมื่อได้รับการผ่าตัดใหญ่ จะสามารถเบิกได้ไม่เกิน 8,000-16,000 บาท
นอกจากค่าสิทธิรักษาในสถานพยาบาลแล้ว ยังได้รับสิทธิในการทำทันตกรรม ไม่เกิน 900 บาท/ปี ด้วย
สิทธิประกันสังคมกรณีสงเคราะห์บุตร
เมื่อจ่ายเงินสมทบ ไม่น้อยกว่า 12 เดือน หรือ 1 ปี จะได้ค่าสงเคราะห์บุตร เดือนละ 600 บาทต่อคน เป็นเวลา 6 ปี ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 6 ปี โดยมีการยกเว้นการจ่ายเงินสงเคราะห์ให้แก่บุตรบุญธรรม หรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น ซึ่งสิทธิประกันสังคมกรณีสงเคราะห์บุตร สามารถขอใช้สิทธิได้ไม่เกิน 3 คน
สิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตร
เมื่อจ่ายเงินสมทบ ไม่น้อยกว่า 15 เดือน หรือ 1 ปี 3 เดือน จะได้รับค่าคลอดบุตร 13,000 บาท โดยสามารถเลือกใช้สิทธิได้จากฝ่ายชาย หรือหญิง ฝ่ายเดียวเท่านั้น และสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยผู้ประกันตนฝ่ายหญิง จะได้รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอด ในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือน เป็นเวลา 90 วัน หรือ 3 เดือนหลังคลอด ซึ่งสิทธินี้ จะใช้ได้เมื่อคลอดลูกคนที่ 1 และ 2 เท่านั้น
สิทธิประกันสังคมกรณีว่างงาน
หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเป็นนานกว่า 6 เดือน สามารถลงทะเบียนในเว็บไซต์ กรมการจัดหางาน ของรัฐ ภายใน 30 วัน ตั้งแต่ออกจากงาน จะได้รับเงินทดแทนการว่างงาน ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย (ค่าจ้างสูงสุด 15,000 บาท) ในระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 3 เดือน/ปี
สิทธิประกันสังคมกรณีทุพพลภาพ
เมื่อจ่ายเงินสมทบ ไม่น้อยกว่า 3 เดือน ผู้ประกันตนจะได้รับการดูแลในเรื่องการรักษาพยาบาล เงินชดเชยรายได้ เงินบำเหน็จ เมื่อสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะของร่างกาย หรือจิตใจ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายเดือน (ค่าจ้างสูงสุด 15,000 บาท) ตลอดชีวิต
สิทธิประกันสังคมกรณีเสียชีวิต
ครอบครัว หรือทายาทของผู้ประกันตนจะได้เงินสงเคราะห์ และค่าทำศพ 40,000 บาท เมื่อแสดงหลักฐานจากฌาปนสถาน สำเนาใบมรณะบัตร และสำเนาบัตรประชาชนของคนในครอบครัว กับสำนักงานประกันสังคม เมื่อผู้เสียชีวิตเคยจ่ายเงินสมทบในกองทุนประกันสังคมนานกว่า 1 เดือน
สิทธิประกันสังคมกรณีชราภาพ
(1) กรณีบำนาญชราภาพ
สำหรับผู้ประกันตนที่มีอายุ 55 ปี และจ่ายเงินสมทบมานานกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ค่าจ้างสูงสุด 15,000 บาท) และหากจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน หรือ 15 ปี จะได้เงินบำนาญชราภาพรายเดือนเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือน
(2) กรณีบำเหน็จชราภาพ
สำหรับผู้ประกันตนที่มีอายุ 55 ปี และมีการจ่ายเงินสมทบ 12 เดือนขึ้นไป หรือ 1 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ตามจำนวนเงินที่จ่ายเข้าประกันสังคม พร้อมทั้งเงินสมทบจากนายจ้าง และผลตอบแทนจากกองทุนประกันสังคม แต่หากมีการจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 1 ปี จะได้รับเพียงเงินที่ตัวเองจ่ายเงินสมทบเท่านั้น
ผู้ประกันตนจะเบิกประกันสังคมยังไง?
แต่ละสิทธิประกันสังคมสามารถขอเบิกได้กับทางสำนักประกันสังคมครับ ด้วยการเขียนแบบคำรับขอประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) พร้อมเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการเบิกจ่าย และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร เพื่อรับเงินที่ผู้ประกันตนจะได้รับ