ตอนที่ผมให้คำปรึกษาเจ้าของร้านมือใหม่ เกี่ยวกับการวางระบบ โครงสร้าง การตลาด แต่ทุกครั้งต้องมาสะดุดที่การทำงานของทีมงาน ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่มักมีปัญหาเรื่องนี้ (คน) ตอนเปิดร้านหลายคนชอบคิดว่า ถ้าเอาคนรู้จักมาช่วยทำงานน่าจะดี หันซ้ายหันขวา ไม่มีใครก็เลยเอาญาติมาช่วย คนนี้ก็ทำกับข้าวอร่อย ก็มาเป็นหัวหน้าครัว คนนี้พอคิดเงินเป็น ก็จับไปทำแคชเชียร์ ญาติเคยทำงานร้านอาหารมาก็มาเป็นผู้จัดการ
ทำไปทำมา ร้านก็แย่ลงเรื่อยๆ ลูกค้าก็บ่น ร้านก็ไม่เรียบร้อย พอถึงคราวจะเรียกมาต่อว่า ก็ทำสีหน้าไม่พึงพอใจ พอจะจ้างคนใหม่เข้ามา ก็เกิดการรวมตัวกันในร้าน อิจฉาคนใหม่ กลัวได้ดีกว่า กลายเป็นดราม่าในร้านไปอีก
จากที่ได้ฟังปัญหามานั้น 3 เหตุการณ์หลักที่ผมสรุปได้ว่าอย่าทำธุรกิจแบบอยู่กันแบบครอบครัว
1. พนักงานจะมาสายมาช้าลาป่วยบ่อย
การทำงานแบบครอบครัวมักจะให้เกียรติกัน หรือเกรงใจไม่กล้าว่า อยู่กันแบบพี่น้อง เมื่อถึงเวลางานผิดพลาด ก็ตรวจสอบไม่ได้ เพราะรู้สึกว่าเกรงใจกัน บางคนมาทำงานสาย อยากหยุดเมื่อไรก็ได้ วิธีแก้ก็คือเราพูดกันตรงไปตรงมา ว่าเนื้องานแต่ละคนทำอะไรบ้าง โดยจะไม่ทำงานข้ามเส้นกัน หากลูกน้องทำผิด คนที่โดนต่อว่า ต้องไม่ใช่คนทำผิด แต่คือหัวหน้าคนทำผิดที่ต้องรับผิดชอบในการกระทำของลูกน้อง
2. คนนำหน้างานทำให้ร้านพัฒนาช้า
เมื่อไรที่เราเริ่มต้นจากความถนัดของคน ก็จะยึดติดอยู่ที่ความสามารถของคน แต่ไม่รู้ว่าจริงแล้วงานที่ดีควรทำยังไง
เช่น พนักงานเก่าแก ไม่ชอบทำตามสูตร ไม่ชอบนับสต๊อก ไม่อยากนับสินค้า ไม่ชอบตัวเลข ไม่อยากทำต้นทุน หรือบางครั้งก็มาในรูปแบบ นักปั่น เช่น อย่าไปสร้างกฎเยอะ เดี๋ยวพนักงานออกหมด เพื่อให้เขาสบายขึ้นนั่นเอง คนใหม่มาก็อยู่ไม่ได้ เจอเจ้าถิ่นคุมอยู่
3. ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว
บางครั้งเราก็แบกคนที่ความสามารถน้อย ด้วยเงินเดือนที่มากเกินไปทำให้ร้านขาดทุน เงินเดือนเชฟ 1 คนที่ไร้ความสามารถ แท้จริงแล้วอาจจะจ้างพนักงานครัวได้ 3 คน บางร้านก็ต้องให้คนนั้นอยู่เพราะความสนิท บางร้านก็ต้องให้เขาอยู่เพราะว่าคนเก่าแก่ บางร้านก็ต้องให้เขาอยู่เพราะไม่ยอมออกสักที บางร้านให้อยู่เพราะเป็นญาติพี่น้องเจ้าของร้าน ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงกลายเป็นต้นทุนแฝง ที่มีค่าใช้จ่ายเกินจริงในการทำธุรกิจ เพราะฉะนั้นจงอย่าเริ่มที่ความสนิทแบบครอบครัว แต่เมื่อคุณขีดเส้นใต้คำว่า โครงสร้างองค์กร+เนื้องานแต่ละคน
ติดตามข่าวสารต่างๆได้ที่เพจ ขายดีไปด้วยกัน